“เนื้องอกนอกมดลูก” ทำให้กลายเป็นผู้มีบุตรยากตั้งครรภ์ยากขึ้นจริงหรือไม่?

 

“เนื้องอกนอกมดลูก” ทำให้กลายเป็นผู้มีบุตรยากตั้งครรภ์ยากขึ้นจริงหรือไม่?

 

“เนื้องอกนอกมดลูก” ทำให้กลายเป็นผู้มีบุตรยากตั้งครรภ์ยากขึ้นจริงหรือไม่?

 

 

เนื้องอกในมดลูกถือว่าเป็นเนื้องอกที่พบได้เยอะที่สุดในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยเริ่มมีประจำเดือน ในผู้หญิงอายุ 25-30 ปีเจอเนื้องอกในมดลูกประมาณ 30-50% ขนาดของเนื้องอกก็มีหลากหลายในแต่ละราย ตั้งแต่เล็ก ๆ ระดับมิลลิเมตรคือไม่ถึงเซนติเมตร ไปจนถึงเป็นสิบเซนติเมตร เท่ากับลูกมะพร้าว หรือลูกแตงโมแล้วแต่สรีระของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี ประมาณ 99% ไม่ใช่เนื้อมะเร็ง ก็คือเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อดี จะไม่ใช่โรคมะเร็ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นส่วนใหญ่เราจะอัลตราซาวนด์ตรวจเจอว่าเป็นเนื้องอกมดลูก แต่ว่ามันก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ ขณะที่เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป โดยแนวโน้มหลังหมดประจำเดือนหรือว่าวัยทองไปแล้ว ตัวก้อนเนื้อมักจะเล็กลงเองและโดยธรรมชาติเมื่ออายุเยอะขึ้นก็จะเป็นน้อยลง

 

เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกเป็นรอยโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการผ่าตัดมากที่สุดในโรคทางนรีเวช ส่วนมากไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการจะขึ้นกับชนิดของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งแบ่งตามตำแหน่งของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ดังนี้

ชนิดที่ 1 เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserous myoma)กลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการ ขนาดของเนื้องอกมักจะใหญ่ อาการปวดมักจะเกิดจากการที่ขนาดของก้อนเนื้อไปกดเบียดอวัยวะอื่นๆ เช่น กดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย กดลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการท้องผูก หรือกดท่อไตทำให้ท่อไตบวม หากการทำงานของไตแย่ลงอาจถึงภาวะไตวาย

ชนิดที่ 2 เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural myoma)เนื้องอกจะไปขัดขวางการบีบรัดตัวของมดลูก เป็นก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้โพรงมดลูก ส่งผลทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือน ประจำเดือนออกมาก ในบางรายหากขนาดเนื้องอกใหญ่มากอาจทำให้มดลูกโตและไปเบียดอวัยวะอื่น ๆ 

ชนิดที่ 3 เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucous myoma)เนื้องอกชนิดนี้อยู่ในกล้ามเนื้อใต้เยื่อบุโพรงมดลูก เป็นสาเหตุให้พื้นผิวในโพรงมดลูกไม่เรียบ จึงทำให้เลือดออกผิดปกติ การมีประจำเดือนมากระปริดประปรอยระหว่างรอบเดือน นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากด้วย

 

ซึ่งทั้ง 3 ชนิดมีความสำคัญแตกต่างกันไป เนื้องอกที่เกิดขึ้นทั้ง 3 แบบงอกมาจากกล้ามเนื้อมดลูกทั้งหมด เราจึงเรียกว่า เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก ตำแหน่งเนื้องอกที่อันตรายแบบสุดๆ คือ แบบที่ 3 ที่เนื้องอกยื่นเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งจะส่งผลให้คุณผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนออกมาก ส่วนที่เป็นปัญหารองลงมาก็คือ เนื้องอกที่อยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก คือมีอาการเหมือนชนิดที่ 3 แต่ก็น้อยกว่า ส่วนชนิดที่ 1 ที่อยู่นอกมดลูก สร้างปัญหาให้กับคุณผู้หญิงน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอันตรายเลย ถ้าเกิดเนื้องอกที่ยื่นออกมาเกิดการบิดขั้วหรือฉีกขาด ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงมากซึ่งบางครั้งอาจต้องได้รับการ ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก อย่างเร่งด่วน ซึ่งไม่ว่าจะในกรณีไหนต่างก็ส่งผลให้มีบุตรยากหรือหากตั้งครรภ์ได้ก็จะมีโอกาสแท้งได้ง่าย ที่สำคัญผู้หญิงทุกวัยสามารถเป็นโรคนี้ได้ 

 

เนื้องอกในมดลูกมีความเป็นไปได้ว่าจะมีมากกว่าหนึ่งก้อน ซึ่งเนื้องอกส่วนใหญ่ในระยะเริ่มต้นมักเกิดขึ้นจากภายในที่เป็นชั้นของกล้ามเนื้อของมดลูกและมีการเจริญเติบโตออกไปทางด้านนอกของมดลูก หรือจฃด้านในเบียดโพรงมดลูก จนส่งผลให้มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องน้อย รวมถึงการเบียดอวัยวะอื่น ๆ ได้ ผลที่ตามมาของโรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง การขาดธาตุเหล็ก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น

 

ที่มาของโรคยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่ชัดเจนคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่กระตุ้นให้เกิดเนื้องอกโพรงมดลูกได้ และ คนที่มีภาวะอ้วน เนื่องจากไขมันใต้ผิวหนังสามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะไปกระตุ้นให้โพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้น ดังนั้นคุณผู้หญิงจึงควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เป็นประจำ  เพราะจะช่วยให้แพทย์เห็นสภาพภายในโพรงมดลูกอย่างชัดเจน และทำการวินิจฉัยรักษาได้ถูกต้อง

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูกนั้น ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเนื้องอกมดลูกเกิดขึ้นจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากพบในครอบครัวสืบทอดกันมาค่อนข้างบ่อย นอกจากนั้นปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนเพศหญิงก็มีส่วนทำให้เกิดเนื้องอกมดลูกด้วย ซึ่งทางการแพทย์เชื่อว่าเนื้องอกมดลูกที่เกิดขึ้นนี้จะถูกเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเพศหญิง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้องอกมดลูกโตขึ้น

 

อีกประการที่สำคัญก็คือปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตการกินอยู่ของคนในยุคปัจจุบัน การรับประทานเนื้อสัตว์มาก ๆ เนื้อแดงมาก ๆ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเนื้องอกได้มากทีเดียว และเกี่ยวกับเรื่องการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง อย่างที่ทราบกันคือ ตัวเนื้องอกนี้มักจะเจอในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์คือ มีประจำเดือนไปสัก 3-10 ปี แล้วเริ่มตรวจเจอว่ามีเนื้องอกมดลูก จริง ๆ คือเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมน แล้วเจริญเติบโตผิดปกติกลายเป็นเนื้องอก อย่างไรก็ดี เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูกสามารถกลายไปเป็นมะเร็งได้แต่โอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น อัตราส่วนประมาณ 1 ใน 1,000 

 

สำหรับแนวทางการรักษานั้น กรณีที่พบก้อนเนื้อขนาด 0.5-2 เซนติเมตร ไม่ได้มีอาการอะไร รักษาโดยการเฝ้าสังเกตอาการและนัดตรวจติดตาม อัลตราซาวนด์ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี ส่วนการใช้ยาในการรักษานั้น แพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางจะให้ยาคุมกำเนิดเพื่อลดอาการ ประจำเดือนที่เคยออกเยอะแต่ถ้าเนื้องอกเป็นไม่เยอะมาก การกินยาคุมกำเนิดจะทำให้ปริมาณประจำเดือนออกน้อยลงได้ และมียาฉีดบางตัวเป็นฮอร์โมนที่กดการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ไม่มีฮอร์โมนเพศในตัวเลย ลักษณะเดียวกับการเป็นวัยทอง อันนี้ก็จะมีผลทำให้ก้อนยุบลงและไม่มีประจำเดือน

 

ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ในปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้โดยการผ่าตัดผ่านกล้องแบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกคือ การส่องกล้องทางโพรงมดลูก hysteroscopy  สามารถใช้ในการผ่าตัดรักษาเนื้องอกมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูก หรือที่มีการเบียดโพรงมดลูก วิธีการผ่าตัดนี้ จะไม่มีแผลผ่าตัด จะสอดกล้องผ่านช่องคลอด ปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูก และใช้ลวดไฟฟ้าในการตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ข้อจำกัดของการส่องกล้องทางโพรงมดลูก ได้แก่ขนาดของเนื้องอกมดลูก ในกรณีที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ จะทำให้สามารถรักษาได้ง่ายขึ้น

 

การรักษาอีกวิธีคือ การส่องกล้องทางช่องท้อง Laparoscopy โดยเป็นการผ่าตัดรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกได้เทียบเคียงกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง โดยจะมีแผลผ่าตัดเล็ก เพียง ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร 3-4 แผลขึ้นกับความยากง่ายของการผ่าตัด ส่วนสำคัญคือการนำเนื้องอกออกจากช่องท้องหลังจากผ่าตัดแล้ว โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดใหญ่

 

ปัจจุบันได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการจัดการก้อนเนื้อชิ้นใหญ่ด้วยการปั่นเชิ้นเนื้อในถุงชนิดพิเศษโดยเฉพาะ เพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อเพื่อที่จะนำออกได้และป้องกันไม่ให้เกิดการกระจายของเนื้องอกไปฝังตัวในช่องท้องตำแหน่งอื่นๆ ได้ ซึ่งการผ่าตัดในลักษณะนี้จะใช้เวลารักษาพักฟื้นน้อยลง อาการเจ็บแผลไม่มากนัก ช่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

แล้วเมื่อไรที่ต้องผ่าตัดเนื้องอกมดลูก คำตอบก็คือเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าเมื่อไหร่จะต้องผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างทั้งอายุของคนไข้ และคนไข้ต้องการมีบุตรหรือไม่ ถ้าคนไข้เป็นเนื้องอกแต่ยังต้องการมีบุตร แพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางอาจพิจารณา ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก โดยเอาเฉพาะตัวเนื้องอกออก โดยยังคงเก็บมดลูกไว้เพื่อการมีบุตรต่อไป ซึ่งการผ่าตัดนี้ก็สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องได้

 

ถ้าคนไข้อายุเริ่มมากมีบุตรพอแล้ว แพทย์ก็อาจพิจารณาผ่าตัดโดยตัดมดลูกออกไปเลย ซึ่งวิธีผ่าตัดที่ดีที่สุดก็คือ การผ่าตัดมดลูกด้วยการส่องกล้องโพรงมดลูกผ่านช่องคลอด ซึ่งวิธีนี้เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผล เป็นหนึ่งในรูปแบบการผ่าตัดแบบ MIS ส่วนในกรณีคนไข้ที่อายุค่อนข้างมากแล้ว เช่นในวัยหมดประจำเดือนแล้ว แพทย์ก็อาจจะใช้วิธีการติดตามเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขนาดก้อนแทน นอกจากนั้นก็ต้องดูลักษณะของก้อนเนื้องอก อาการที่แสดงด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่แพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางพิจารณาก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษา

 

สำหรับการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงเนื้องอกมดลูก คุณผู้หญิงควรตรวจคัดกรอง ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งสามารถตรวจได้แม้จะยังไม่มีอาการ ปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืองดสูบบุหรี่ รวมถึงรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ควบคุมน้ำหนักตัว โรคนี้มักพบกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินจึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และออกกำลังกายเป็นประจำ หมั่นออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายได้

 

หากพบความผิดปกติ เช่น คลำพบก้อนเนื้อ ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือนมาก ควรรีบเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้

 

เนื้องอกมดลูกสัมพันธ์กับการมีบุตรยาก โดยสามารถพบในสตรีที่มีบุตรยากประมาณ 5-10% เนื่องจากกลไกที่ทำให้มีบุตรยาก คือ ตัวก้อนกดเบียดทำให้อสุจิเคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูกได้ลำบาก ตัวก้อนกดเบียดบริเวณท่อนำไข่ ทำให้มีผลต่อการปฏิสนธิของเซลล์ไข่และอสุจิ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เนื้องอกขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนบริเวณในโพรงมดลูก และเนื้องอกที่มดลูกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก มีผลต่อการฝังตัวและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน

 

และในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วตรวจพบปัญหาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกย่อมจะเป็นกังวลใจว่า เนื้องอกจะส่งผลต่อลูกน้อยอย่างไรบ้าง อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ผู้หญิงเกือบ 50% มีเนื้องอกกล้ามเนื้อ เพียงแต่อาจจะไม่มีอาการ หรือไม่เคยตรวจมาก่อน คุณแม่หลายคนจึงมักพบเนื้องอกนี้ครั้งแรกเมื่อตรวจอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์ โดยการอัลตราซาวด์ระหว่างตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก จะเป็นช่วงที่สามารถเห็นเนื้องอกในทุกตำแหน่งได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมดลูกยังมีขนาดเล็ก เมื่อมดลูกและทารกมีขนาดโตขึ้นตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น การอัลตราซาวด์เพื่อตรวจดูก้อนเนื้องอกก็จะค่อนข้างจำกัด

 

คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเนื้องอก หากมีอาการปวดที่ก้อนมาก ๆ อาจต้องใช้ยาช่วย แต่ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทาง เพื่อการจัดยาที่ปลอดภัย หรือหากมีอาการมดลูกหดรัดตัวก่อนกำหนด ต้องรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด โดยอาจต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อยับยั้งการคลอดตามความเหมาะสมด้วย

 

นอกจากนี้ คุณแม่ต้องมาฝากครรภ์สม่ำเสมอตามแพทย์ตามโรงพยาบาลชั้นนำและคลินิกเฉพาะทางนัด เพื่อติดตามสุขภาพของทารก และขนาดของเนื้องอกเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม หากก้อนเนื้องอกไม่ได้อยู่ในตำแหน่งขวางช่องทางคลอด คุณแม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้เองตามปกติ โดยต้องเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด และภาวะมดลูกไม่หดรัดตัวอย่างใกล้ชิด

 

สำหรับคุณแม่ผู้มีบุตรยากที่กังวลว่าปัญหาเรื่องเนื้องอกนอกมดลูกจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้มีบุตรยาก เทคโนโลยีในปัจจุบันได้มีการการนำเอาวิธีการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทางด้านภาวะการมีบุตรยากเข้ามาเพิ่มโอกาสของการปฏิสนธิ ทดแทนวิธีทางธรรมชาติที่ไม่ประสบความสำเร็จ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากมีบุตร แต่มีบุตรยาก มีปัญหาหลายประการที่ทำให้มีบุตรยาก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในวิธีแก้มีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ที่เรียกว่า IVF, การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง หรือที่เรียกว่า IUI และ ICSI หรืออิ๊กซี่ ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีราคาค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป

 

การทำเด็กหลอดแก้วหรือ In vitro fertilization (IVF)คือ วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยอาศัยการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งจะมีการฉีดยากระตุ้นไข่และเก็บไข่ จากนั้นจะนำไข่และอสุจิมาใส่รวมกัน แล้วให้อสุจิทำหน้าที่ของตัวเองในการเจาะไข่เข้าไปจนเกิดการปฏิสนธิขึ้นตามธรรมชาติ  ซึ่งการทำเด็กหลอดแก้วนั้นเหมาะสำหรับคู่แต่งงานที่มีบุตรยาก ฝ่ายหญิงมีปัญหาที่ท่อนำไข่และฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับอสุจิ รวมทั้งยังเหมาะกับกรณีที่รักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ IUI แต่ไม่สำเร็จ วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหามีบุตรยาก เป็นการเพิ่มโอกาสที่มากขึ้น

 

การทำ IUI (Intra uterine insemination)คือ การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงผ่านปากมดลูกเข้าไป ซึ่งน้ำเชื้ออสุจิที่ฉีดเข้าไปนั้น จะผ่านการคัดกรองตัวที่มีคุณภาพมาก่อนหน้า ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีรักษาผู้มีบุตรยากที่ง่ายกว่า IVF มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นรักษาภาวะมีบุตรยาก ส่วนข้อจำกัดในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำ IUI ก็มีเพียงเรื่องท่อนำไข่ของฝ่ายหญิง นั่นคือ ท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงจะต้องมีความปกติ ไม่มีการตันของท่อนำไข่ ส่วนฝ่ายชายควรจะมีน้ำเชื้อที่ปกติด้วย

 

รวมถึงการทำ ICSI หรือที่อ่านว่า อิ๊กซี่ ย่อมาจากคำว่า Intracytoplasmic sperm injectionหมายถึง วิธีการช่วยการมีบุตรยากโดยการปฏิสนธินอกร่างกาย เป็นเทคนิคทางห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน โดยการเลือกอสุจิภายใต้กล้องกำลังขยายสูงมากที่สามารถเห็นรายละเอียดความสมบูรณ์ของอสุจิได้เพิ่มขึ้น แล้วใช้เข็มแก้วขนาดเล็ก ดูดเลือกอสุจิขึ้นมาหนึ่งตัว แล้วใช้เข็มนั้นเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปในไข่เพียงใบเดียว เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิสนธิได้ง่ายขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ที่ทำได้ง่าย ไม่ทำให้ผู้รับการรักษารู้สึกเจ็บ เหมาะสำหรับผู้มีบุตรยากทั้งฝ่ายชายและหญิงอีกด้วย 

 

อ้างอิง

https://www.bangkokhospital.com/content/not-having-children-may-be-uterine-fibroids

https://www.bangpakokhospital.com/care_blog/content/Myoma

https://bit.ly/3zYTwbV

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Uterine-Fibroids

https://www.nonthavej.co.th/Leiomyoma.php

https://bit.ly/3A0HsI9

 

 

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

กับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร