รู้จักตัวช่วยการตั้งครรภ์ วิตามินโฟลิก หรือวิตามิน B9 ช่วยเสริมความแข็งแรงคุณแม่

 

รู้จักตัวช่วยการตั้งครรภ์ วิตามินโฟลิก หรือวิตามิน B9 ช่วยเสริมความแข็งแรงคุณแม่

 

 

รู้จักตัวช่วยการตั้งครรภ์ "วิตามินโฟลิก" หรือวิตามิน B9 ช่วยเสริมความแข็งแรงคุณแม่

 

เมื่อพูดถึงการตั้งครรภ์ สิ่งที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ หรือได้รับคำแนะนำจากแพทย์ตามโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทางชั้นนำนั่นก็คือ การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะในคุณพ่อคุณแม่ที่อยากตั้งครรภ์ปกติ หรือที่มีภาวะเป็นผู้มีบุตรยาก อยู่ระหว่างรับการรักษาทางการแพทย์ด้วยวิธี IVF IUI หรือ ICSI การเตรียมตัวที่สำคัญก็คือการบำรุงครรภ์ของคุณแม่นั่นก็คือ “กรดโฟลิก” ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญ กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกอีกอย่างว่า “โฟแลต” คือวิตามิน B9 ตามธรรมชาติที่คุณที่เตรียมตั้งครรภ์ต้องบำรุงให้พร้อม

 

เพราะกรดโฟลิกนั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์ เนื่องจากกรดโฟลิกจะเข้าไปพัฒนาระบบประสาท (สมองและไขสันหลัง) ตั้งแต่ช่วง 28 วันแรกหลังจากการปฏิสนธิ และช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเตรียมให้ร่างกายคุณแม่มีปริมาณโฟลิคที่เพียงพอตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารจากอาหารได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายของคุณแม่และทารกได้รับกรดโฟลิกที่เพียงพอ จึงต้องมีการเสริมกรดโฟลิกให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อความสมบูรณ์ต่อการสร้างตัวอ่อนในครรภ์

 

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเสริมโฟลิก คือ ควรเริ่มตั้งแต่วางแผนมีบุตร และควรทานอย่างต่อเนื่องจนอายุครรภ์มีอายุได้ 12 สัปดาห์ หากทานโฟลิกช้าเกินไปจะส่งผลต่อการพัฒนาการทางระบบประสาทอย่างมาก เสี่ยงต่อความพิการทางสมองและระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงกะโหลกศีรษะอาจไม่ปิด หากทารกสามารถคลอดออกมาได้ก็อาจจะไม่มีชีวิตรอดได้เกิน 24 ชั่วโมง  หรือในกรณีที่สามารถรอดชีวิตมาได้ระบบภายในร่างกายอาจะมีความผิดปกติที่เสี่ยงต่อโรคร้ายอีกหลายโรค ดังนั้นการเสริมโฟลิกให้กับว่าที่คุณแม่ถือเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่างมาก โดยปริมาณโฟลิกที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 400 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับคุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ และ800 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ การทานโฟลิกมากเกินไปไม่ใช่เรื่องดี เพราะ กรดโฟลิกจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามิน B12 ซึ่งอาจมีผลกระทบเรื่องโลหิต

 

ทั้งนี้ แหล่งของกรดโฟลิกที่กินแล้วดีต่อร่างกายนั้นไม่ได้มีเพียงแค่วิตามินแต่ยังมีอยู่อาหารทั่วไปด้วย ดังต่อไปนี้

  • ผักใบเขียว : วัตถุดิบชั้นเยี่ยมที่อุดมไปด้วยโฟลิก หากคุณต้องการเพิ่มโฟลิกจากธรรมชาติการเลือกทานบร็อคโคลี่ ผักขม หน่อไม้ฝรั่ง และกะหล่ำปลีคือของอร่อยที่เหมาะสม  เพียงทานผักใบเขียวดิบ 100 กรัม จะทำให้ได้รับกรดโฟลิกมากถึง 26% ของจำนวนที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิกต่อวันเลยทีเดียว
  • ผลไม้รสเปรี้ยว ต่างอุดมไปด้วยกรดโฟลิกทั้งนั้น ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้มหรือมะนาวเป็นอีกวิธีหนึ่งในการได้รับโฟเลตในปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน ตัวอย่างเช่น ส้มลูกใหญ่ 1 ผล มีโฟเลต 55 ไมโครกรัม 

 

โฟลิกช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นจริงหรือไม่ คำตอบก็คือโฟลิกนั้นเป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยกระบวนการสร้างตัวอ่อนจึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ แต่โฟลิกที่ทานเข้าไปอาจจะไม่ได้ช่วยทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้น เนื่องจากก่อนที่จะเกิดกระบวนการสร้างตัวอ่อนนั้นจะต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิก่อน ซึ่งปัญหาของผู้มีบุตรยากนั้นเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านอายุของสามีภรรยา คุณภาพของไข่ ปริมาณน้ำเชื้อและคุณภาพของอสุจิ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกัน

 

ดังนั้นอาหารหรือวิตามินเสริมจึงเป็นเพียงสารอาหารที่ช่วยเรื่องการเตรียมความพร้อมให้ร่างกายเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้อย่างตรงจุด ดังนั้นหากท่านมีปัญหาตั้งครรภ์ยาก แต่งงานมานานแล้วแต่ไม่มีลูกสักที ควรพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยเรื่องการเจริญพันธุ์ในปัจจุบันเข้าช่วย ได้แก่การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) การรักษาที่สะดวก ไม่ต้องเจาะหน้าท้อง และให้อัตราการตั้งครรภ์สูง หรือการฉีดเชื้ออสุจิเพียงหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ แบบที่สองคือ การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination: IUI) เป็นการรักษาภาวะมีบุตรยากที่สะดวก และประหยัด เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ตรวจไม่พบปัญหาทางร่างกายที่ชัดเจน หรือมีความผิดปกติของน้ำเชื้อแค่เล็กน้อย หรือแบบที่สามคือ อิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีอสุจิน้อยมากจนไม่สามารถปฏิสนธิไข่ได้เอง หรือไม่มีตัวอสุจิเลย แต่อัณฑะยังคงมีการผลิตอสุจิอยู่  ซึ่งทั้งสามวิธีนี้ก็จะมีราคาค่าบริการและแพ็กเกจที่ต่างกันไป แต่ทั้งสามวิธีนี้ก็ช่วยให้ผู้มีบุตรยากประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

 

การทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF อาจจะเป็นวิธีที่นิยมและหลายคนก็เริ่มต้นจากวิธีนี้ก่อนเป็นอย่างแรก การทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF เป็นวิธีการรักษาโรคมีบุตรยากด้วยวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในหลอดทดลอง จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ได้มาเพาะเลี้ยงต่อจนอายุ 3-5 วัน จึงนำกลับเข้าสู่ร่างกายฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไป IVF หรือเด็กหลอดแก้ว ก็เป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการ วิทยาการทางการแพทย์ของการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เทคโนโลยีเครื่องมือมากกว่าวิธีอื่น มีราคาค่อนข้างสูง แต่ก่อนที่จะทำเด็กหลอดแก้วนั้น อาจจะลองรักษาด้วยวิธีอื่นเช่น การฉีดเชื้อผสมเทียม การกระตุ้นไข่ การผ่าตัด แต่การทำ IVF ไม่ใช่จะสำเร็จเสมอไป ทุก ๆ ครั้งที่ย้ายตัวอ่อนจะมีอัตราสำเร็จเฉลี่ยเพียง 35% ดังนั้นต้องเผื่อใจในกรณีที่ไม่สำเร็จด้วย 

 

อ้างอิง

https://worldwideivf.com/faq/folic-acid/

https://bit.ly/3zYIh4f

https://bit.ly/3BFRnnR

https://bit.ly/3QeoMu0

 

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

กับศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจินตบุตร